สินค้าคุณภาพราคาโรงงาน จากสมาชิก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
13/05/2563 16:49 3,334
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 อยู่ที่ระดับ 90.2 ปรับตัวลดลงจากระดับ 92.2 ในเดือนมกราคม 2563 โดยค่าดัชนีฯ ต่ำสุดในรอบ 21 เดือน นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2561 ทั้งนี้ความเชื่อมั่นที่ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้ามีสาเหตุจากความกังวลต่อการชะลอตัวและอุปสงค์ และกำลังซื้อที่ซบเซาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งเป็นผลจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้การดำเนินกิจการประสบปัญหาด้านการผลิต การจำหน่าย รวมทั้งการขนส่งสินค้าและการนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศจีนที่มีความล่าช้า ขณะที่ปัญหาภัยแล้งก็ส่งผลกระทบต่อปริมาณวัตถุดิบการเกษตรลดลง นอกจากนี้การเบิกจ่ายงบประมาณที่ล่าช้าในโครงการก่อสร้างของภาครัฐยังส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้างด้วย
จากการสำรวจผู้ประกอบการ 1,209 ราย ครอบคลุม 45 กลุ่มอุตสาหกรรมทั่วประเทศในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 พบว่า ผู้ประกอบการร้อยละ 65.8 มีความกังวลเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจโลกเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการส่งออกมีความกังวลเกี่ยวกับการส่งออกของไทยและภาวะเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่อาจได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ส่งผลให้คำสั่งซื้อต่างประเทศลดลงทั้งในเดือนปัจจุบันและคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า ส่วนปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีความกังวลลดลง ได้แก่ สถานการณ์การเมืองภายในประเทศ ร้อยละ 48.6 เนื่องจากผู้ประกอบการกังวลการเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้าทำให้กระทบต่อและการลงทุนภาครัฐ, อัตราแลกเปลี่ยน (บาทต่อดอลลาร์) ในมุมมองผู้ส่งออก ร้อยละ 48.2 และราคาน้ำมัน ร้อยละ 32.1 ตามลำดับ สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ในลักษณะทรงตัว ร้อยละ 19.8
สำหรับดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลง อยู่ที่ระดับ 98.1 โดยลดลงจาก 99.4 ในเดือนมกราคม 2563 โดยค่าดัชนีต่ำที่สุดในรอบ 45 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2559 เนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่มีแนวโน้มรุนแรงและกระจายไปทั่วโลก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกในระยะต่อไปโดยเฉพาะกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ในประเทศเนื่องจากนักท่องเที่ยวต่างชาติชะลอตัว ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่าย ส่งผลให้การบริโภคสินค้าอุตสาหกรรมลดลง
สำหรับข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเสนอให้ภาครัฐเพิ่มมาตรการและสร้างความเชื่อมั่นในการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 เพื่อให้เกิดการใช้จ่ายในประเทศเพิ่มขึ้น และขอให้ภาครัฐออกมาตรการเพิ่มสภาพคล่องแก่ผู้ประกอบการในระยะสั้น และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ในระยะยาว เช่น มาตรการทางด้านภาษี
ยอดการผลิตและส่งออกรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์ ก.พ. 63 คลิก Press Release ยอดผลิตรถยนต์ ก.พ. 63
ผู้ใช้บริการทั้งที่เป็นสมาชิกและไม่เป็นสมาชิก ตกลงยินยอมให้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เก็บรวบรวม ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งทำการเก็บรวบรวมไว้ดังต่อไปนี้ ข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งได้บันทึกและจัดเก็บอยู่ในบัตรประจำตัวประชาชน หรือเอกสารอื่นใดที่ออกโดยหน่วยงานราชการ และ /หรือที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เก็บรวบรวมจากแหล่งอื่นหรือบุคคลอื่นใดโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น รวมถึงการเก็บรวบรวมและการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลอื่นใดของผู้ใช้บริการได้ ดังต่อไปนี้ ชื่อ นามสกุล หมายเลขประจำตัวประชาชน วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ รวมถึงการให้ข้อมูลจากการสอบถาม หรือมีปฏิสัมพันธ์ใดๆ กับ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เช่น การให้ข้อคิดเห็น คำติชม คำถาม ของผู้ใช้บริการด้วย เพื่อดำเนินการประมวลผลข้อมูลเพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพของระบบเว็บไซต์www.ftiebusiness.com การจัดหรือให้บริการ และสิทธิประโยชน์ จากการจัดกิจกรรม การทำวิจัย วิเคราะห์และจัดทำข้อมูลสถิติ ซึ่งสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จะใช้ข้อมูลดังกล่าวให้สอดคล้องวัตถุประสงค์และให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้ใช้บริการ โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์และนโยบายตามที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกำหนด และกฎหมายที่เกี่ยวข้องบัญญัติให้กระทำการดังกล่าวได้ทั้งนี้
หากผู้ใช้บริการไม่ประสงค์รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าวอีกต่อไป สามารถแจ้งมายังสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อขอถอนความยินยอมตามหนังสือฉบับนี้เมื่อใดก็ได้ โดยสมารถติดต่อมายังสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตามช่องทางการติดต่อด้านล่างนี้
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยชั้น 8
อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีเชิงสร้างสรรค์เลขที่ 2
ถนนนางลิ้นจี่ แขวงทุ่งมหาเมฆ (มทรก.) เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
โทรศัพท์ : 0-2345-1053
อีเมล: [email protected]
ข้อสงวนสิทธิ์
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ไม่มีจุดประสงค์ในการเก็บรวบรวม ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อเสนอบริการ หรือการเสนอสิทธิประโยชน์ใดๆ แก่ผู้ใช้บริการหรือการติดตามพฤติกรรมของผู้ใช้บริการเมื่ออยู่ประเทศอื่นหากมีกรณีพิพาทเกิดขึ้น ให้ตีความตามหนังสือฉบับภาษาไทย โดยใช้กฏหมายไทยในการตีความ และให้ศาลไทยเป็นศาลที่มีอำนาจในการพิจารณาคดีเท่านั้น