Logo
บริษัท เกรท ฟรอนเทียร์(ประเทศไทย) จำกัด
GREA FRONTIER(THAILAND) CO.,LTD

ภาวะสมองล้า (Brain Fog) ผลกระทบจากลองโควิด

28/07/2565 00:00:00 1,564

โควิด-19 ส่งผลกระทบได้ทั่วร่างกาย ตั้งแต่ระบบหายใจ ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร ระบบหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงส่งผลกระทบต่อด้านอารมณ์และจิตใจ โดยพบว่า หลังจากหายจากการติดเชื้อโควิด-19 แล้ว ผู้ป่วยอาจต้องเผชิญกับภาวะลองโควิด หรือผลกระทบระยะยาวของการติดเชื้อโควิด-19 โดย หลังหายจากการติดเชื้อแล้ว มีผู้ป่วยประมาณ 32.1% ที่ต้องเผชิญกับผลกระทบทางจิตใจจากลองโควิด (กรมการแพทย์, 2022)

  • นอนไม่หลับ

ผู้ป่วยอาจมีภาวะนอนหลับยาก ใช้เวลานานกว่า 20 นาที ถึงจะนอนหลับ พฤติกรรมการนอนเปลี่ยนไป มีอาการหลับไม่สนิท ตื่นกลางดึก หลับๆ ตื่นๆ

  • วิตกกังวล

มีปัญหาด้านความจำ สมาธิสั้น สมาธิไม่ดี ความคิดสับสน คิดคำพูดไม่ออก คิดช้าลง รู้สึกสมองไม่โลดแล่น

  • ซึมเศร้า

เนื่องจากต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบกระเทือนต่อจิตใจอย่างรุนแรง ผู้ป่วยอาจมีอาการ PTSD (Post?Traumatic Stress Disorder) คิดถึงเหตุการณ์เลวร้ายอยู่ตลอดเวลา ขาดความสนใจในกิจกรรมที่เคยทำ หรือสิ่งรอบข้าง รู้สึกเหนื่อย ไม่มีเรี่ยวแรง

กลุ่มอาการข้างต้น เรียกว่า ?กลุ่มอาการภาวะสมองล้า (Brain Fog)? ซึ่งกลุ่มอาการดังกล่าวจะดีขึ้นตามลำดับเมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 2-4 สัปดาห์



ดูแลใจ บริหารสุขภาพจิตใจอย่างไรดี?

  • ทำกิจกรรมที่ช่วยให้มีสมาธิเพิ่มขึ้น เช่น อ่านหนังสือ นั่งสมาธิ
  • ตั้งเป้าหมายในการใช้ชีวิต และสร้างความมั่นใจให้ตนเอง เพื่อให้มีความภาคภูมิใจ
  • ผ่อนคลายความเครียดโดยการพูดคุยกับคนในครอบครัว เพื่อน คนรอบข้าง
  • ลองหางานอดิเรก หรือกิจกรรมที่ชอบทำ เช่น ออกกำลัง วาดรูป ทำอาหาร
  • ปรึกษาจิตแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาและรักษาอาการทางด้านจิตใจ


กรมการแพทย์, กรมสุขภาพจิต, องค์กรอนามัยโลก, แพทย์หญิงวรฉัตร เรสลี อายุรแพทย์เฉพาะทางโรคติดเชื้อ

เอกสารที่แนบ