Logo
บริษัท แสงเงิน เอ็นเตอร์ไพร์ส (1992) จำกัด
Silverlight Enterprises(1992) Co., Ltd.
  • 516
  • 202,702

ลัักษณะการกระจายแสงของโคมไฟประเภทต่างๆ

30/03/2565 11:27:01 1,575

ลักษณะการกระจายแสงของโคมไฟประเภทต่างๆ

          โคมไฟที่สร้างขึ้นมามีลักษณะของการกระจายแสงสว่างต่าง ๆ กันออกไป ขึ้นอยู่กับความต้องการของงานประเภทนั้นๆ เมื่อมีการกระจายแสงสว่างออกเป็นหลาย ๆ ลักษณะ ก็จําเป็นจะต้องมีการจัดหมวดหมู่หรือจําแนกประเภทของการกระจายแสงสว่างของโคมไฟนั้นออกไป โดยใช้หลักการของการกระจายแสงสวางในแนวดิ่งของโคมไฟ โดยพิจารณาจากอัตราส่วนของปริมาณพลักซ์การส่องสว่างที่พุ่งออกมาจากโคมไฟที่ลงสู่พื้นต่อปริมาณของแสงสว่างที่กระจายออกจากโคมไฟขึ้นสู่เพดาน ซึ่งสามารถแบ่งประเภทของโคมไฟตามลักษณะของการกระจายแสงสว่างได้  6 ชนิด คือ


         1) โคมไฟแบบกระจายแสงสว่างลงด้านล่าง (Direct Luminaire) โคมไฟประเภทนี้เป็นโคมไฟที่มีการกระจายแสงสว่างส่วนใหญ่ประมาณ 90–100 % ของแสงสว่างทั้งหมดลงสู่พื้น และส่วนที่เหลือประมาณ 0–10 % จะกระจายแสงสวางขึ้นสู่เพดาน ดังรูป ได้แก่ โคม ตะแกรง, โคม อะคริลิค เป็นต้น


    

                    


             รูปแสดง
ลักษณะการกระจายแสงสวางของโคมไฟแบบกระจายแสงสว่างลงด้านล่าง

(Direct Luminaire)

          โคมไฟประเภทนี้มีข้อดีอยู่ที่ว่า เราสามารถที่จะควบคุมทิศทางของการกระจายแสงสว่างให้ไปตกลงพื้นงานที่ต้องการได้ง่าย แต่มีข้อควรระวังเวลาใช้โคมไฟประเภทนี้คือ จะต้องจัดระยะห่างระหว่างโคมไฟให้เหมาะสมมิฉะนั้นอาจจะทําให้เกิดเงาขึ้นได้ระหว่างจุดกึ่งกลางของโคมไฟที่ใช้ในการติดตั้งและอีกประการหนึ่ง ก็คือ ความแตกต่างระหวางความจ้าของแสงสว่างที่สะท้อนออกจากตัวโคมไฟกับผนังเพดานจะมีมาก จะต้องทําการแก้ไขโดยอาจจะใช้วิธีทาสีเข้าช่วย หรือติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีเปอร์เซ็นต์ในการสะท้อนแสงสวางสูงเข้าช่วย


          2) โคมไฟแบบกึ่งกระจายแสงสว่างลงด้านล่าง (Semi – direct Luminaire) โคมไฟประเภทนี้เป็นโคมไฟที่มีการกระจายแสงสว่างส่วนใหญ่ประมาณ 60–90 % ของแสงสว่างทั้งหมดลงสู่พื้น และที่เหลือ 10–40 % จะกระจายแสงสว่างขึ้นไปบนเพดาน ดังรูป โคมไฟประเภทนี้ มีข้อดีอยู่ที่มันสามารถลดความจ้าของแสงสว่างที่สะท้อนระหว่างโคมไฟและเพดานได้ดีกว่าแบบแรกและมีข้อควรระวังคือ เมื่อติดตั้งโคมไฟประเภทนี้แล้วจะต้องจัดระยะห่างระหว่างโคมไฟให้เหมาะสม เพราะอาจจะทําให้เกิดเงาขึ้นได้ระหว่างจุดกึ่งกลางของโคมไฟที่ใช้ในการติดตั้ง ยกตัวอย่างเช่น โคม โรงงาน

 

 


         

              รูปแสดงลักษณะของการกระจายแสงสว่างของโคมไฟแบบกึ่งกระจายแสงสว่างลงด้านล่าง

(Semi–direct Luminaire)


          3)โคมไฟแบบกระจายแสงสว่างรอบด้าน (General Diffuse Luminaire) โคมไฟประเภทนี้เป็นโคมไฟที่มีการกระจายแสงสว่างไฟฟ้ารอบโคมไฟทุกทิศทาง คือ มีการกระจายแสงสวางลงสู่พื้น กระจายแสงสว่างขึ้นสู่เพดานและกระจายแสงสว่างตามแนวระดับของโคมไฟพอๆ กัน ดังรูป โคมไฟประเภทนี้มีข้อดีคือค่าความจ้าของแสงสว่างจะสมํ่าเสมอกันทั่วทั้งห้องและดูสบายกว่าสองแบบแรก แต่มีข้อเสีย คือ ค่าสัมประสิทธิ์ การใช้ประโยชน์จะมีค่าตํ่ากว่าสองแบบแรก เพราะการควบคุมแสงสว่างให้ไปตกในบริเวณที่ต้องการได้ยาก ยกตัวอย่างเช่น โคมดาวน์ไลน์ โคมกล่องเหล็ก เป็นต้น

รูปแสดงลักษณะของการกระจายแสงสว่างของโคมไฟแบบกระจายแสงสว่างรอบด้าน

(General Diffuse Luminaire)


          4) โคมไฟแบบกระจายแสงสว่างขึ้นด้านบนและลงด้านล่าง (Direct – Indirect Luminaire) โคมไฟประเภทนี้เป็นโคมไฟที่มีการกระจายแสงสวางขึ้นสู่เพดานและกระจายแสงสว่างลงสู่พื้นเท่ากัน ไม่กระจายแสงสว่างสู่แนวระดับ ดังรูปโคมไฟประเภทนี้มีข้อดีคือ ค่าความจ้าของแสงสว่างจะสมํ่าเสมอกันทั่วทั้งห้องและดูสบายตาดีกว่าสองแบบแรก แต่มีข้อเสีย คือ ค่าสัมประสิทธิ์ การใช้ประโยชน์มีค่าตํ่ากว่าสองแบบแรกและการควบคุมแสงสวางให้ไปตกในบริเวณที่ต้องการทําได้ยากกว่า

                  

       รูปแสดงลักษณะของการกระจายแสงสว่างของโคมไฟแบบกระจายแสงสว่างขึ้นด้านบนและลงด้านล่าง
(Direct – Indirect Luminaire)


          5)โคมไฟแบบกึ่งกระจายแสงสว่างขึ้นด้านบน (Semi – Indirect Luminaire) โคมไฟประเภทนี้เป็นโคมไฟที่มีการกระจายแสงสว่างส่วนใหญ่ประมาณ 60 - 90 % ของแสงสว่างทั้งหมดขึ้นสู่เพดานและที่เหลือ 10 - 40 %กระจายแสงสว่างลงสู่พื้น ดังรูป โคมไฟประเภทนี้มีข้อดีคือ สามารถลดการแยงตาของแสงสว่างได้ดีเหมาะที่จะติดตั้งในบริเวณที่ไม่ต้องการให้มีการแยงตาของแสงสว่าง เนื่องจากโคมไฟประเภทนี้ มีการกระจายแสงสว่างส่วนใหญ่ขึ้นสู่เพดานมากกว่าลงบนพื้นงาน จึงดูเหมือนว่าเพดานจะทําหน้าที่คล้ายแหล่งกำเนิดแสงสว่างขนาดใหญ่แหล่งหนึ่ง และจะสะท้อนแสงสว่างลงสู่พื้นงาน เมื่อเป็นเช่นนี้ความสามารถในการสะท้อนแสงสว่างของเพดานจะต้องมีความสามารถในการสะท้อนแสงสว่างสูงมาก และค่าความจ้าของแสงสว่างที่สะท้อนแสงสว่างออกมาระหว่างเพดานกับโคมไฟจะต้องไม่แตกต่างกนมากนัก จึงจะทําให้ความจ้าของแสง สว่างที่สะท้อนแสงสว่างออกมาพอใกล้เคียงกันและระยะห่างระหว่างโคมไฟกับเพดานจะต้องติดตั้งโคมไฟห่างจากเพดานพอสมควร

     

รูปแสดงลักษณะของการกระจายแสงสว่างของโคมไฟแบบกึ่งกระจายแสงสว่างขึ้นด้านบน

(Semi – Indirect Luminaire) 



          6) โคมไฟแบบกระจายแสงสว่างขึ้นด้านบน (Indirect Luminaire) โคมไฟประเภทนี้เป็นโคมไฟที่มีการกระจายแสงสว่างส่วนใหญ่ 90 – 100 % ขึ้นสู่เพดาน และที่เหลือ 0 – 10 % จะกระจายแสงสว่างลงสู่พื้น ดังรูป โคมไฟประเภทนี้มีข้อดี คือ สามารถลดหรือควบคุมการแยงตาของแสงสว่างได้ดีมากและความจ้าของแสงสว่างภายในห้องดูจะสมํ่าเสมอเกือบจะเท่ากันทั้งห้อง ข้อเสีย คือ การติดตั้งจะต้องติดตั้งโคมไฟให้อยู่ตํ่ากว่าเพดานอย่างพอเหมาะจึงจะทําให้แสงสว่างสะท้อนออกจากเพดานลงมาบนพื้นได้สมํ่าเสมอ และโคมไฟประเภทนี้จะมีค่าสัมประสิทธิ์ การใช้ประโยชน์น้อยที่สุดในบรรดาประเภทของโคมไฟทั้งหมด

                   


รูปแสดงลักษณะของการกระจายแสงสวางของโคมไฟแบบกระจายแสงสว่างขึ้นด้านบน
(Indirect Luminaire)


           ดังนั้นจะเห็นได้ว่าโคมแต่ตัวมีลักษณะการกระจายแสงที่แตกต่าง ดังนั้นจึงควรเลือกให้เหมาะสมกับสถานที่ที่ต้องการจะติดตั้ง พร้อมทั้งคำนวณค่าความเข้มของแสงสว่าง ตามประกาศกรมสวัสดิ์การและคุมครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานความเข้มแสงสว่าง เพื่อได้คุณภาพของแสงให้เหมาะสมกับพื้นที่นั้น ๆ

  บทความ >>  วิธีการตรวจวัดความเข้มแสงสว่าง      

  บทความ >>ประสิทธิผลของหลอดไฟและ สมรรถนะของระบบแสงสว่าง และกฎหมายมาตรฐานความเข้มแสง


หากมีคำถามเพิ่มเติมติดต่อ คุณอ้อย ฝ่ายขาย  โทร/แอดไลน์ 094-3864646   


ดูรายละเอียดของสินค้า >>> แคตตาล๊อตสินค้า Silverlight

 

ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก :คู่มือผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน (โรงงาน) พ.ศ. 2561






เอกสารที่แนบ